กำจัดปลวกด้วยไส้เดือนฝอย

กำจัดปลวกด้วยไส้เดือนฝอย

ไส้เดือนฝอยสายพันธ์ุไทย ผลิตภัณฑ์ของกรมวิชาการเกษตร พบในดินในประเทศไทย เป็นสายพันธุ์ที่ทนร้อนและสภาพแวดล้อมต่าง ๆของประเทศไทยได้ดีกว่าสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

ไส้เดือนฝอยเป็นชื่อของ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีคุณสมบัติเหมือนพยาธิ ไส้เดือนฝอยจะสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ภายในตัวหนอนแมลงได้ทางช่องเปิดต่างๆและเข้าไปเจริญเติบโตภายในตัวหนอนแมลง

โดยใช้หนอนแมลงเป็นอาหาร หลังจากนั้นจะทำการขยายพันธุ์ภายในตัวหนอนแมลงเมื่อหนอนแมลงตายแล้วไส้เดือนฝอยส่วนหนึ่งจะออกจากตัวหนอนแมลงลงมาอยู่ที่พื้นดินรอกำจัดหนอนแมลงรุ่นต่อไป

นักวิจัยที่ค้นพบว่าไส้เดือนฝอยกำจัดปลวกได้ คือ ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้มีการวิจัยต่อเนื่องมาหลายปีพบว่าไส้เดือนฝอย สามารถกำจัดปลวกได้

เพราะว่าแต่เดิมนั้นการกำจัดปลวกทั้งในบ้านเรือนหรือในสวน เราใช้สารเคมีในการกำจัด แต่เมื่อเราใช้ไส้เดือนฝอยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ซึ่งไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง

งานวิจัยยังพบว่าเมื่อใช้เหยื่อล่อที่ประกอบด้วยขี้เลื่อยไม้และเซลลูโลสที่ผสมไส้เดือนฝอยเข้าไปในนั้น นำไปวางล่อปลวกให้เข้ามากิน ก็จะพบว่าจำนวนปลวกในบริเวณใกล้เหยื่อล่อนั้น จะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ไม่พบอีกต่อไป ภายใน 7 วัน แต่ก็พบว่า มีที่นานที่สุด 120 วัน

หัวเชื้อไส้เดือนฝอย

ภาพ : thaifarmer.lib.ku.ac.th/news/5df898898e29a10f270b4b3a
ไส้เดือนฝอยยังใช้กำจัดแมลง ในแปลงผัก สวนผัก สวนผลไม้ นาข้าว แปลงไม้ดอกไม้ประดับ โรงเรือนเพาะชำ โรงเลี้ยง Melon 
สวนสาธารณะ สวนหย่อม สวนครัว เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับพืชที่เป็นอาหารหนอนแมลงเช่นพืชตระกูลแตงทั้งหลาย ผักใบอ่อน ใบที่มีรสหวานเป็นที่ต้องการของแมลง

โดยผสมน้ำฉีดแปลงผัก-สวนไม้ผล-แปลงเกษตร ให้ทั่วในช่วงเย็น จะได้ผลเร็วและดียิ่งขึ้นถ้าหากฉีดถูกตัวหนอนแมลง

ไม่ควรให้โดนแดดหรือมีความร้อนจัดเพราะจะทำให้ไส้เดือนฝอยตาย ขณะฉีดพ่นควรเขย่าหรือแกว่งถังอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันไส้เดือนฝอยตกตะกอน ควรฉีดพ่นอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งในช่วงที่หนอนแมลงระบาดหนักควรฉีดทุกห้าวันขึ้นอยู่กับการระบาด และการเข้าทำลายของแมลง

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
+ กรมวิชาการเกษตร
+ kasettumkin.com/peeradeath/article_10506
+ thaifarmer.lib.ku.ac.th/news/5df898898e29a10f270b4b3a
+ สำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร(องค์การมหาชน) การขับเคลื่อนชีวภัณฑ์สู่การใช้ประโยชน์